พัฒนาการของเด็กวัยรุ่นปรับตัวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

เมื่อผ่านระยะพัฒนาการของวัยรุ่นมาแล้ว  บุคคลต่างๆก็จะเข้าสู่ระยะวัยผู้ใหญ่ (Adulthood) คือช่วงอายุ 21 ถึง 60 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวมาก นักจิตวิทยาจึงมักแบ่งช่วงระยะพัฒนาการวัยผู้ใหญ่ ออกเป็น 3 ระยะคือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว, วันผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน และวัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึงพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นคือช่วงอายุตั้งแต่ 20 ถึง 40 ปี ดังนี้

  1. พัฒนาการด้านร่างกาย

ในช่วงนี้ทั้งเพศหญิงและเพศชายมีร่างกายที่สมบูรณ์เต็มที่ โดยเฉพาะในเพศชายอายุประมาณ 20 ปี ไหล่จะกว้าง ขนาดของต้นแขนและต้นขามีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น ส่วนในเพศหญิงเต้านมและสะโพกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ ในวัยนี้ร่างกายจะมีพลังกำลังคล่องแคล่วว่องไว เรื่องการรับรู้ต่างๆจะมีความสมบูรณ์เต็มที่ เช่น สายตา การได้ยิน การลิ้มรส

  1. พัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์

สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางด้านจิตใจดีกว่าในช่วงวัยรุ่น รู้จักที่จะคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น เปิดใจยอมรับผู้อื่นมากขึ้น เรื่องของด้านความรักมีความปรารถนาในการอยากใช้ชีวิตคู่ สร้างอนาคตร่วมกัน หรือการพบรักอันสุดแสนจะโรแมนติก รวมทั้งการตอบสนองด้วยเหตุผลทั้งกับตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น

  1. พัฒนาการด้านสังคม

จะเริ่มอยากแบ่งปัน เผื่อแผ่ เอื้อเฟื้ออาทรต่อบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่มีอายุน้อยกว่า แต่จะให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกันลดลง จำนวนสมาชิกของเพื่อนในกลุ่มลดลง แต่จะมีความสัมพันธภาพกับเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนรักมากขึ้นกว่าเดิม หากมีครอบครัวก็จะเป็นลักษณะในการเฝ้าดูความสำเร็จของบุตร

  1. พัฒนาการทางสติปัญญา

วัยผู้ใหญ่จะมีการพัฒนาด้านความคิด สติปัญญาที่อยู่ในระดับ Formal operations ซึ่งถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการ เรียกได้ว่ามีความสามารถทางสติปัญญาครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด สามารถจัดระดับความคิดได้เป็นระบบ รวมทั้งมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น รู้จักที่จะจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาแล้วนำมาปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ได้มีผู้สำรวจศึกษาหลายคนที่เห็นว่าความคิดของผู้ใหญ่ นอกจากจะเป็นความคิดในการแก้ไขปัญหา ยังมีลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ค้นหาปัญหาอีกด้วย

การปรับตัวกับบทบาทใหม่

เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยทั่วไปแล้วจะเป็นช่วงที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา หรือใกล้ที่จะจบการศึกษาแล้ว จึงเริ่มมีการวางแผนในการดำเนินชีวิตต่อไปทั้งเรื่องการประกอบอาชีพที่ร่ำเรียนมาหรือตามความรักความพึงพอใจในสายงาน เพื่อให้ชีวิตการทำงานมีความสุข พร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน พร้อมที่จะรับปัญหาแก้ไขปัญหาในลำดับต่อไปคะ

ข้อมูลอ้างอิง :  https://www.slideshare.net

พัฒนาการของทารกช่วง 1-2 ปีแรก

ในช่วงปีแรกของชีวิตวัยเด็กเป็นช่วงที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเด็กในวัยนี้จะมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กสามารถรับรู้สิ่งรอบตัวได้จากการทำงานประสานกันของระบบประสาทสัมผัส พ่อแม่ต้องคอยจดสถิติทุกความเปลี่ยนแปลงของลูกน้อยให้เป็นอย่างดี เพื่อวัดพัฒนาการของเด็กว่าเป็นไปตามวัยอันเหมาะสมของเด็กด้วยหรือไม่ ซึ่งพัฒนาการในช่วงนี้จะมุ่งเน้นการตอบสนองด้านต่างๆ ดังนี้

  1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย

จะมีการเติบโตรวดเร็วมากกว่าวัยอื่น ส่วนระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้ประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพ พัฒนาการของร่างกายจะเป็นไปตามวัยมากกว่าสิ่งแวดล้อม และเป็นอย่างสม่ำเสมอไล่จากศีรษะสู่เท้าจากแกนกลางลำตัวสู่มือและเท้า เช่น วัยแรกเกิดทารกจะมีส่วนสูงประมาณ 45-50 เซนติเมตร และเมื่อมีอายุได้ขวบปีแรกจะมีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 75 เซนติเมตร

  1. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

ในขวบปีแรกการรับรู้จะใช้อวัยวะสัมผัสต่างๆเช่น ปาก จมูก มือ ลิ้น และผิวหนัง เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 7-8 เดือนจะสามารถมองเห็นแยกแยะความแตกต่างของใบหน้าแม่กับผู้อื่นที่ไม่เคยพบเจอ เมื่ออายุได้ประมาณ 1-2 ขวบทารกจะเริ่มแยกสิ่งของที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันได้รวมทั้งแยกความต่างระหว่างเสียงของสัตว์ เสียงรถ หรือเสียแปลกๆได้ ส่วนการเรียนรู้ของทารกจะเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเป็นหลัก  โดยใช้เวลาประมาณเกือบปีถึงจะพูดได้ แต่จะสามารถพูดได้ชัดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป

  1. พัฒนาการทางด้านอารมณ์

ช่วงแรกเกิดทารกจะแสดงอารมณ์สงบหรืออารมณ์ตื่นเต้นออกมาให้เห็นเท่านั้น ต่อมาจะแยกแยะได้มากขึ้นตามอิทธิพลที่ได้รับการเร้า เช่น ความกลัว ความเกลียด เบิกบาน มีความสุข เป็นต้น

  1. พัฒนาการทางด้านสังคม

ในระยะ 2-3 เดือนแรก ทารกจะแสดงออกด้วยการสบตา ส่งเสียงอือออ รับรู้ ต่อมาอายุได้ 6-7 เดือน จะเริ่มแสดงความสนใจหรือผูกพันกับคนใกล้ชิดโดยเฉพาะมารดาได้มากขึ้น

  1. พัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ

ซึ่งในช่วงวัยทารก พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูจะมีผลต่อทารกโดยตรง เพราะทารกจะสะท้อนออกมากให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น แม่ที่กอดลูกแนบอกตลอดเวลา ทารกก็จะรู้สึกเชื่อมั่น และไว้วางใจต่อโลกมีบุคลิกภาพที่อ่อนโยน แต่ถ้าหากแม่แสดงออกอย่างเย็นชา เชื่องช้า ทารกก็รับรู้ แสดงออกว่ารู้สึกขาดความเชื่อมั่น สุดท้ายก็จะกลายเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ร้าย

ฉะนั้นในวัยนี้พ่อแม่จะต้องเลี้ยงดูเด็กด้วยความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ ส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัยอันเหมาะสม ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่ไม่เท่ากัน บางคนช้า หรือ บางคนเร็ว ซึ่งพ่อแม่ก็ต้องคอยส่งเสริมช่วยเหลือเพื่อให้เค้าเติบโตขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ข้อมูลอ้างอิง : http://sites.google.com

 

การเจริญเติบโตของเด็กวัยรุ่นตอนปลายช่วง 17-19 ปี

วัยรุ่นตอนปลายเป็นช่วงวัยที่กำลังฝึกฝนอาชีพและมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างสมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งทางด้านการเจริญพันธุ์ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เกิดความมั่นใจพึงพอใจยอมรับในลักษณะรูปร่างของตนเอง ไม่รู้สึกว่าเกิดปมด้อยอีกต่อไป

ในส่วนของด้านจิตใจวัยรุ่นตอนปลายจะรู้สึกว่าตนเองเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เริ่มเข้าใจในความรักความหวังดี ความเอื้ออาทรที่พ่อแม่กระทำให้ ลดความขัดแย้งในช่วงวัยรุ่นตอนกลางไปได้ พร้อมทั้งยอมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆจากพ่อแม่มากขึ้น เริ่มสร้างความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่มากกว่าที่ผ่านมาก ส่งผลให้ในเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่นช่วงปลายจะมีความคิด การตัดสินใจ อย่างมีหลักเหตุและผล มีความอดทน ยับยั่งชั่งใจมากขึ้น รู้จักที่จะประณีตประนอมไม่ดื้นรั้นหัวชนฝา

ซึ่งหากเป็นในสังคมต่างประเทศเด็กในวัยนี้จะเริ่มออกมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังไม่ค่อยพบเห็นเท่าไหร่นัก เพราะวัฒนธรรมทางด้านสังคมและวิถีชีวิตของคนไทยผู้ใหญ่ยังคงมองว่าวัยรุ่นตอนปลายยังเป็นเด็กอยู่ไม่กล้าที่จะปล่อยให้ไปเผชิญชีวิตด้วยตนเองตามลำพัง นอกเสียจากว่าจะต้องย้ายสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกลบ้านจึงเป็นภาวะจำยอมมากกว่า วัยรุ่นบางคนจะเริ่มรู้สึกอยากมีรายได้เป็นของตนเองและรับผิดชอบทางด้านการศึกษาของตนเอง ส่วนเรื่องกลุ่มเพื่อนในช่วงนี้ไม่ค่อยมีความสำคัญมากเท่ากับวัยรุ่นตอนต้นและตอนกลาง เนื่องจากในช่วงนี้จะมีความรู้สึกนึกคิดและค่านิยมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยกเว้นบางคนที่ยังไม่สามารถค้นหาตัวตนไม่เจอ อาจจะต้องใช้เวลาในการรอไปอีกสักระยะหนึ่ง จะมีเปลี่ยนจากกลุ่มเพื่อนเป็นมีเพื่อนสนิทรู้ใจเพียงแค่ 1-2 คน

เรื่องของการมีคู่รักหรือมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นช่วงปลาย จะเป็นไปในลักษณะรับผิดชอบร่วมกัน เข้าใจ บางคนอาจถึงขั้นวางแผนชีวิตในการสร้างครอบครัว แต่งงานกับคนที่ตนรัก มากกว่าความต้องการด้านความสัมพันธ์ชั่วคราวหรือเพียงแค่ความต้องการทางด้านอารมณ์เหมือนช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งในช่วงนี้พ่อแม่ควรปลูกฝังในเรื่องที่เป็นคุณธรรม จริยธรรม ศาสนา เพราะจะมีการยอมรับมากขึ้น

การพัฒนาการทางด้านต่างๆของวัยรุ่นในแต่ละช่วงวัย มีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยอื่นๆ จะเห็นว่าวัยรุ่นบางคนอาจมีพัฒนาการในด้านต่างๆก้าวหน้าไปกว่าอายุจริง ในขณะเดียวกันบางคนอาจจะมีความล่าช้าในบ้างเรื่อง เพราะฉะนั้นพ่อแม่ไม่ควรที่จะไปตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด รวมทั้งห้ามนำเด็กในปกครองของตนเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่อยู่ในวันเดียวกัน แต่ควรที่จะประคับประคองให้เด็กวัยรุ่นตอนปลายสามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

 

พัฒนาการของเด็กวัยรุ่นตอนกลางในช่วง 14-16 ปี

Sad teenager boy outdoors alone

 

วัยรุ่นตอนกลางจะเป็นช่วงอายุ 14 – 16 เป็นช่วงที่มีระยะเวลาอัตราการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของร่างกายเริ่มลดลง โดยร่างกายจะมีความเป็นหนุ่มเป็นสาวที่มีความสมบูรณ์เกือบเทียบเท่ากับผู้ใหญ่ ส่งผลให้เด็กในวัยนี้มีความคุ้นชิน ไม่ตื่นเต้น กังวล สงสัย ต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอีกต่อไป แต่จะมีความพร้อมทางด้านร่างกายเพื่อเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์ โดยในช่วงนี้วัยรุ่นส่วนใหญ่เริ่มหันเหไปให้ความสนใจในการดูแลตนเอง รูปร่าง หน้าตา ให้ดูสวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจแกผู้พบเห็น เริ่มสนใจเรื่องของเสื้อผ้า แฟชั่น การแต่งเนื้อแต่งตัวมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มเพื่อนเองก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตค่อนข้างมาก เมื่อกลุ่มทำอะไรก็จะทำตามแบบเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนภายในกลุ่ม โดยบางครั้งหรือคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสม หากว่าเจอเพื่อนที่ดีชักชวนกันไปทำกิจกรรมในทางที่ดี เด็กก็จะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาต่างๆน้อยลง

นอกจากนั้นในวัยรุ่นตอนกลางเริ่มมีความคิด ความสามารถ ทักษะต่างๆ และความริเริ่มสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ จึงเป็นระยะที่มีความสำคัญที่พ่อแม่หรือครูบาอาจารย์จะต้องให้การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้พวกเค้าสามารถแสดงออกมาอย่างสร้างสรรค์ ถ้าเด็กมีแววทางด้านใด ก็ควรผลักดันส่งเสริม ให้เด็กมุ่งเน้นไปทางด้านนั้นอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวของเด็กเอง

ซึ่งช่วงวัยรุ่นตอนกลางจะยอมรับเหตุผลและหลักความเป็นจริง รู้ขอบเขต ที่ตนเองสามารถกระทำได้ เพราะฉะนั้นการวางแผนชีวิตในช่วงวัยนี้จะเริ่มเข้าสู่พื้นฐานความเป็นจริงมากขึ้น ในกลุ่มเด็กที่มีเชาว์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปานกลางหรือต่ำกว่าปกติ  บางครั้งก็จะรู้สึกท้อแท้ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนไปสู่ภาวะซึมเศร้า แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่สังคมที่แวดล้อมหรือกลุ่มเพื่อนอีกด้วย เพราะเป็นวัยที่ถูกชักจูงไปได้ง่าย หากเจอผู้นำที่ไม่ดีก็อาจจะส่งผลให้เดินทางผิดนำไปสู่สิ่งชั่วร้ายในอนาคตและยังเป็นวัยที่อยากรู้อยากทดลอง โดยกล้าที่จะเสี่ยง ไม่กลัวผลหรืออันตรายที่ตามมา เช่น การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ การใช้สารเสพติด เหล่า บุหรี่ รวมทั้งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นผู้หญิงซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และเกิดขึ้นได้บ่อยในวัยรุ่นช่วงนี้

ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรให้ความใกล้ชิดทำตัวให้เหมือนเป็นเพื่อนกับลูก อย่าพยายามทำให้ตัวเป็นพ่อแม่ให้ลูกรู้สึกถึงความเกรงกลัว มีแต่คำสั่งห้ามทำนู้นทำนี้ แต่เปลี่ยนมาเป็นให้คำอธิบายหลักเหตุผลให้เด็กเข้าใจ เด็กก็จะคิดตามเชื่อฟังเพราะอย่างที่กล่าวมาในข้างต้นว่าเด็กในวัยนี้จะยอมรับและฟังเหตุผลมากขึ้นคะ

 

พัฒนาการของเด็กวัยแรกรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายๆด้าน โดยเฉพาะในเด็กวัยแรกรุ่นในช่วงอายุ 10-13 ปีแรก ซึ่งจะเป็นวัยที่เกิดปัญหาขึ้นได้มากจึงต้องอาศัยการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้ต่อไปพร้อมเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในวัยนี้เพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นได้เร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปีและจะพัฒนาไปจนถึงอายุประมาณ 18 ปีก็จะเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงในพัฒนาการด้านต่างๆดังนี้

  1. พัฒนาการทางร่างกาย

ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและเพศ สาเหตุเพราะวัยนี้จะมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศมากขึ้น ซึ่งในส่วนของร่างกายจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แขนขาจะยาวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเพศหญิงจะมีไขมันมากกว่าชายที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า ส่งผลให้เพศชายมีความแข็งแรงกว่า ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางเพศ วัยรุ่นผู้ชายจะเริ่มเป็นหนุ่มขึ้น นมแตกพาน เสียงแตก หนวดเคราขึ้น และเริ่มมีการหลั่งน้ำอสุจิหรือที่เรียกว่าฝันเปียก วัยรุ่นหญิงจะเป็นสาวมากขึ้น เต้านมมีการขยายใหญ่ขึ้น สะโพกผาย เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก

  1. พัฒนาการทางด้านจิตใจ แบ่งย่อยออกมาเป็น 2 ประเภท
    • สติปัญญา มีการพัฒนาด้านสติปัญญามากขึ้นสามารถเรียนรู้ เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆแบบลึกซึ้ง คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งต่างๆได้ด้วยตัวเอง
    • ความคิดถึงตัวเอง วัยรุ่นจะเริ่มแสดงออกถึงสิ่งที่ตนเองชื่นชอบหรือถนัด เช่น วิชาที่ชอบเรียน กีฬาที่ชอบเล่น ของสะสมที่สนใจ เลือกคบเพื่อนที่มีความชอบอะไรที่เหมือนๆกัน จึงทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดกันในกลุ่มเพื่อน ทั้งส่วนของแนวคิด ค่านิยม ระบบจริยธรรม ซึ่งสิ่งเหล่าคือเอกลักษณ์เฉพาะตัว
    • ภาพลักษณ์ของตนเอง คือการใส่ใจมองในภาพของตนเองในด้านต่างๆ เช่น หน้าต่าง รูปร่าง ความสวยหล่อ ผิวพรรณ ข้อดีหรือข้อด้อยของร่างกายตัวเอง
    • การได้รับการยอมรับ วัยนี้มีความต้องการด้านการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย เห็นคุณค่าของตนเอง มั่นใจในตนเอง ยิ่งมีคนรู้จักมากขึ้นก็ยิ่งรู้สึกดี
    • ความเป็นตัวของตัวเอง ในวัยนี้จะเริ่มรู้สึกอิสระ เสรีภาพ ไม่ชอบที่ต้องอยู่ในภายใต้กฎเกณฑ์หรือกติกาใดๆ ชอบที่จะคิดเอง ทำเอง พึ่งตนเอง หากถูกบังคับก็จะแสดงปฎิกิริยาตอบโต้ในทันที และยังเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นจึงมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกได้ง่าย

ดังนั้นในวัยนี้พ่อแม่จึงควรให้ความสนิทดูแลอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ควรเข้าไปจู้จี้หรือเข้าไปทำให้เด็กรู้สึกอึดอัด พวกเค้าก็จะยิ่งต่อต้านรวมทั้งทำตัวแปลกแยกห่างเหิน มีอะไรก็จะไม่กล้าบอกซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีคะ

family

สังคมมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมเด็กอย่างไร

 family

หากบอกว่าเด็กเปรียบเหมือนผ้าขาวที่รอคอยการมาแต่งเติมสีสัน สิ่งที่อยู่รอบตัวก็เหมือนกับคนที่จะคอยแต่งแต้มสีสันเหล่านั้นให้กับเด็กที่ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นมาว่าจะกลายเป็นคนอย่างไรในสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมจึงกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของเด็กที่จะทำให้เขาเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่อย่างไร หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าสังคมจะมีอิทธิพลทางด้านพฤติกรรมอย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้สามารถสรุปออกมาได้ในรูปแบบที่หลายคนน่าจะพอเข้าใจได้ไม่ยาก

พฤติกรรมเด็กที่เกิดขึ้นได้จากอิทธิพลทางสังคม

  1. การเรียนรู้การใช้ชีวิตของเด็ก – หากย้อนกลับไปในอดีตด้วยสภาพสังคมที่เน้นเรื่องของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นหลัก มีอะไรก็สามารถหยิบยืมให้กันได้อย่างง่ายดาย แต่ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่กลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวจากผู้ใหญ่ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อเด็กๆ ได้เห็นตัวอย่างเหล่านี้ก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติจนทำให้เด็กคนหนึ่งกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวได้หากไม่ได้รับการอบรมหรือตัวอย่างทางสังคมที่ดีพอ
  2. ความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวกับเด็ก – ด้วยความที่สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่เน้นเรื่องของการทำงานหาเงินเป็นหลัก ทำให้เรื่องของความผูกพันของพ่อแม่กับเด็กมีน้อยลง เมื่อพ่อแม่จำเป็นต้องทำงานเพื่อหาเงินมาให้ลูก ลูกเองจึงถูกเลี้ยงดูด้วยสถานรับเลี้ยงเด็กหรือไม่ก็ญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นหลัก
  3. การขาดโอกาสที่ดีของเด็ก – สำหรับเด็กบางคนที่เกิดในครอบครัวยากจน ทำให้พวกเขาเองขาดโอกาสที่ดีในการทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องการใช้ชีวิต และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดจากสภาพสังคมแวดล้อมของเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีอย่างที่ควรจะเป็นตั้งแต่เกิดเมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นแค่แรงงานคนหนึ่งเท่านั้น พฤติกรรมของเขาก็จะขาดโอกาสที่จะก้าวต่อไปในอนาคต
  4. ความก้าวร้าวจากสิ่งเร้ารอบตัว – ด้วยความที่สมัยนี้สื่อสังคมออนไลน์เป็นสิ่งที่เด็กสามารถรับรู้ได้อย่างง่ายดาย เด็กทุกคนสามารถเปิดมือถือหรือเปิดคอมพิวเตอร์นิดเดียวก็สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กเองก็สามารถเกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวได้ง่าย อาทิ เห็นข่าวสังคมที่รุนแรง คลิปวีดีโอต่างๆ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งเร้าทางสังคมที่เปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้

การขาดความอดทนจากความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น – พฤติกรรมอีกอย่างที่เด็กสมัยนี้สามารถเป็นได้ก็คือการขาดความอดทนอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่ความสะดวกสบายทุกอย่างมันเกิดขึ้นในยุคของเขา จนกลายเป็นความเคยตัวหากเจออะไรที่ยากลำบากก็จะขาดความอดทนอย่างที่ควรจะเป็นได้

ปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศ

1.การเกิดพฤติกรรมทางเพศเกิดจากตัว อาจเกิดจากฮอร์โมนของบุคลนั้น สภาพแวดล้อมเพื่อนฝูง จิตใจ การเจริญเติบโตของตัวเราเองนั้นมีผล และแตกต่างกันออกไป

2. ผลจากการเสพยา ขึ้นชื่อว่ายาเสพติดล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อ ตัวเอง ครอบครัวสังคมรังเกียจ และยังมีส่วนกระทบต่อร่างกาย และอารมณ์ทางเพศอีกด้วย

3.จากเพื่อน และคู่รัก การคบเพื่อนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อนบางคนอาจเกิดหมกมุ่นในเรื่องเพศ เราควรเปิดใจและแนะนำสิ่งที่ถูกต้องให้กับตัวเด็กพูดจาดี สอนให้ทำประโยชน์ต่อสังคม ช่วยเหลือผู้อื่น แทนที่จะหมกอยู่กับเรื่องเพศสัมพัน

4.สื่อมวลชน มีผลกระทบทางเพศเป็นอย่างมาก เช่น ข่าวขมขื่น การแต่งตัวไม่มิดชิด สื่อต่างๆ โฆษณา รายการที่มีต่าง ทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น

 

พฤติกรรมของเด็กก้าวร้าว

การจะตัดสินใจว่าลูกของเราก้าวร้าว หรือเป็นอาการของเด็กทั่วไปในวัยนั้นๆ เราควรทำความเข้าใจคำว่า เกเร ความหมายนี้คืออะไร อย่างพึงด่วนตัดสินใจ ต้องแยกประเภทให้แจ่มแจ้งเช่น ก้าวร้าวทางอารมณ์ ทางการพูด ทางพฤติกรรม และส่งผลกับบุคลใดบ้างเช่น พ่อแม่ เพื่อน ครู ซึ่งจะทำการตรวจสอบปัญหาได้ดียิ่งขึ้น การนิยามความก้าวร้าวของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง

การแก้ไขปัญหาการก้าวร้าวของเด็ก

เด็กที่ก้าวร้าวมักจะเกิดกับสภาวะรอบตัวเช่น เพื่อน พ่อแม่ หรือจำคนอื่นมาเป็นตัวอย่างจนทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ในการแก้ปัญหา บิดามารดา ควรจะใช้สติ และความสงบ พูดคุยดีๆ การลงโทษรุนแรงกับเด็กเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะเด็กอาจเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ ซึ่งวิธีนี้ไม่เป็นผลดีต่อเด็กเท่าที่ควรเด็กจะเกิดความแข็งข้อมากกว่าเดิม บิดามารดาควรพูดจากับเด็กอย่างมีเหตุผลถามถึงปัญหา และแก้ให้ตรงจุด

 

จะรู้ได้ไงว่า ตั้งครรภ์

ผู้หญิงหลายคนอาจจะวิตกกังวลประจำเดือนไม่มา และอาจจะคิดว่าตัวเองนั้นได้ท้องหรือป่าว ลักษณะอาการบางคนนั้นจะแตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิงเช่น บางรายมีอาการอาเจียน เวียนหัว ประจำเดือนมาไม่ปกติ กระปิดกระปอย คัดเต้านม ท้องผูกกว่าปกติ เป็นต้น หรือบางคนอาจซื้อที่ตรวจที่ตรวจครรภ์มาตรวจเอง เพราะเดียวนี้ชุดตรวจนั้นมีความแม่นยำสูงมาก

อาการสำหรับคนท้องระยะแรกจะมีดังนี้

1.ประจำเดือนมาไม่ปกติ

การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติก็ไม่แน่เสมอไปสำหรับการตั้งครรภ์เกิดได้หลายสาเหตุเช่น เกิดจากความเครียด ร่างกายผิดปกติ พักผ่อนน้อย เป็นต้น สำหรับคนตั้งครรภ์การที่ประจำเดือนไม่มานั้น ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนมายับยั้งการมีประจำเดือน เพื่อให้ท้องผู้คุณแม่นั้นแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

2.ปัสสวะมาก(ฉี่บ่อย)

ในการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ร่างกายคนท้องจะทำงานที่มากกว่าปกติ ไตทำงานมากขึ้น เลือดมากขึ้น มดลูกใหญ่ขึ้นกว่าเดิมจากการตั้งครรภ์ ส่วนมดลูกที่ติดอยู่ด้านหลังกระเพราะปัสสวะนั้นได้โตขึ้นจึงบเป็นสาเหตุไปเบียดกระเพราะปัสวะให้เล็กลงจังทำให้คุณแม่นั้นฉี่ได้บ่อยกว่าเดิม

3.คัดเต้านม

ส่วนมากผู้หญิงมักจะคัด ตรึงเต้านมเวลาใกล้มีประจำเดือน แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการคัดเต้านมที่ยาวนานกว่า เพื่อเตรียมการสร้างนมให้ลูกกิน นม และหัวนมจะใหญ่ขึ้นมีสำคล้ำ และมีเส้นเลือดสีเขียวขึ้นรอบๆ

4.อาการแพ้ท้อง

มักจะเห็นทั่วไปในหญิงที่มีการตั้งครรภ์ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย บางท่านอาจอาเจียนในตอนเช้า และเย็น บางคนอาเจียนตลอดทั้ง เป็นผลมาจากน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นเอง

5.กินอาการรสเปรี้ยว

คนตั้งครรภ์มักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกกินอะไรก็ไม่อร่อย อยากกินอาหารแปลกกว่าเดิม กินของที่ตัวเองชอบยังบอกไม่อร่อย มักจะอาหารอาหารเปรี้ยวๆรสจัด ซึ่งเป็นผลดีต่อคุณแม่ทั้งหลายเช่นกัน เพราะอุดมไปด้วย วิตามินทั่งหลาย

.ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ยาสามัญประจำบ้าน

ยาพาราเชื่อว่าทุกคนมีติดบ้านกันอยู่แล้วเป็นยา ลดไข้ บรรเทาอาการปวด เดี่ยวนี้ยาพารามีการปรับวิธีการให้ยาขนาด 500 mg      ห้ามรับประทานเกินวันละ 8 เม็ดต่อวัน เราควรอ่านฉลากให้ดีก่อนรับประทานยาเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง paracetamol สามารถใช้ร่วมกับสตรีมีครรภ์ เด็กต่ำกว่า 2 เดือนควรให้ปริมาณที่น้อยลง ส่วนมากผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ไม่ควรเกิน 8 เม็ดต่อวัน สำหรับเด็กที่มีอายุเกิน 16 ปี จะวัดตามน้ำหนัก และอายุ การใช้ยาให้เกิดผล ควรใช้เมื่อเริ่มมีอาการ และไม่ควรใช้เมื่อมีอาหารแย่แล้ว ยาจะออกฤทธิ์หลายชั่วโมง ผู้ใหญ่จะกินยาแก้ปวดขนาด 500 mg ได้นานเกิน 10 วัน แต่เด็ก ไม่ควรกินติดต่อเกิน 5 วัน ใช้ในการลดไข้ไม่ควรเกิน 3 วัน ถ้าไม่หายควรไปพบแพทย์ดีกว่าเพื่อตรวจอาการอย่างถูกต้อง